ยิ่งเราอายุมาก ยิ่งมีความเสี่ยงต่อภาวะกล้ามเนื้อเสื่อม
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับร่างกายของเรา ซึ่งร่างกายคนเราจะเผชิญกับภาวะกล้ามเนื้อเสื่อมในช่วงอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป มวลกล้ามเนื้อจะลดลงประมาณ 8% ในทุก ๆ 10 ปี แต่เมื่ออายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป อัตราการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อจะเกิดขึ้นแบบทวีคูณ โดยมวลกล้ามเนื้อจะลดลงประมาณ 15% ในทุก ๆ 10 ปี
การดูแลกล้ามเนื้อให้ดี สำคัญยิ่งกว่าการสร้างความแข็งแกร่งกล้ามเนื้อ
เนื่องจากกล้ามเนื้อมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเคลื่อนไหว การทรงตัว และระบบเผาผลาญพลังงานของร่างกาย กล้ามเนื้อจะเป็นส่วนที่ควบคุมภาวะเหนื่อยหรือตื่นตัวของร่างกาย และยังสามารถมีผลกระทบถึงภาวะการใช้ออกซิเจนของร่างกายอีกด้วย
วัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้ง่ายๆ แค่ลองบีบมือ
มีการศึกษาเกี่ยวกับการประเมินสมรรถภาพของกล้ามเนื้อ แสดงให้เห็นว่าความสามารถในการกำมือได้แน่น บ่งบอกได้ถึงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดีและมีความแม่นยำมากกว่าการวัดจากความดันโลหิตเสียอีก แต่ถ้าคุณต้องการทดสอบความแข็งแรงของมวลกล้ามเนื้อ สามารถเข้าไปใช้บริการในสถานพยาบาลที่จะมีเครื่องมือวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ หรือทำกิจกรรมง่ายๆด้วยตัวเอง เช่น ลองบิดเปิดขวดโหลแล้วสังเกตความแน่นของฝ่ามือ อย่างไรก็ตามหากพบความผิดปกติหรือเกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงอาจถึงเวลาที่คุณต้องเริ่มปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
การรับประทานอาหารที่ดี ครบถ้วนด้วยโปรตีน เพื่อสร้างกล้ามเนื้อที่ดี
การได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนเป็นสิ่งสำคัญ ยิ่งผู้ใหญ่ยิ่งต้องใส่ใจการเลือกรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะโปรตีนที่เป็นสารอาหารสำคัญสำหรับเสริมสร้างกล้ามเนื้อ แหล่งโปรตีนชั้นดี สามารถหาได้จากเนื้อสัตว์ติดมัน ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง เป็นต้น
ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเพื่อลดอัตราการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ
จากคำแนะนำของนักโภชนาการปริมาณโปรตีนที่ผู้ใหญ่ควรได้รับต่อวันคือ 0.36 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 ปอนด์ (0.8 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม) โดยเฉลี่ยปริมาณโปรตีนที่ผู้ชายต้องการต่อวันคือ 56 กรัม ส่วนผู้หญิงคือ 46 กรัม นอกจากนี้ปริมาณโปรตีนควรปรับเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตามอายุทุกๆ 1 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่ร่างกายขาดสารอาหารจากการเจ็บป่วยหรืออยู่ในช่วงระหว่างการพักฟื้นจากการผ่าตัด