ติดต่อ 0957755577 หรือ 0899695577
ยิ่งเราอายุมาก ยิ่งมีความเสี่ยงต่อภาวะกล้ามเนื้อเสื่อม
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับร่างกายของเรา ซึ่งร่างกายคนเราจะเผชิญกับภาวะกล้ามเนื้อเสื่อมในช่วงอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป มวลกล้ามเนื้อจะลดลงประมาณ 8% ในทุก ๆ 10 ปี แต่เมื่ออายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป อัตราการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อจะเกิดขึ้นแบบทวีคูณ โดยมวลกล้ามเนื้อจะลดลงประมาณ 15% ในทุก ๆ 10 ปี
การดูแลกล้ามเนื้อให้ดี สำคัญยิ่งกว่าการสร้างความแข็งแกร่งกล้ามเนื้อ
เนื่องจากกล้ามเนื้อมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเคลื่อนไหว การทรงตัว และระบบเผาผลาญพลังงานของร่างกาย กล้ามเนื้อจะเป็นส่วนที่ควบคุมภาวะเหนื่อยหรือตื่นตัวของร่างกาย และยังสามารถมีผลกระทบถึงภาวะการใช้ออกซิเจนของร่างกายอีกด้วย
วัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้ง่ายๆ แค่ลองบีบมือ
มีการศึกษาเกี่ยวกับการประเมินสมรรถภาพของกล้ามเนื้อ แสดงให้เห็นว่าความสามารถในการกำมือได้แน่น บ่งบอกได้ถึงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดีและมีความแม่นยำมากกว่าการวัดจากความดันโลหิตเสียอีก แต่ถ้าคุณต้องการทดสอบความแข็งแรงของมวลกล้ามเนื้อ สามารถเข้าไปใช้บริการในสถานพยาบาลที่จะมีเครื่องมือวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ หรือทำกิจกรรมง่ายๆด้วยตัวเอง เช่น ลองบิดเปิดขวดโหลแล้วสังเกตความแน่นของฝ่ามือ อย่างไรก็ตามหากพบความผิดปกติหรือเกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงอาจถึงเวลาที่คุณต้องเริ่มปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
การรับประทานอาหารที่ดี ครบถ้วนด้วยโปรตีน เพื่อสร้างกล้ามเนื้อที่ดี
การได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนเป็นสิ่งสำคัญ ยิ่งผู้ใหญ่ยิ่งต้องใส่ใจการเลือกรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะโปรตีนที่เป็นสารอาหารสำคัญสำหรับเสริมสร้างกล้ามเนื้อ แหล่งโปรตีนชั้นดี สามารถหาได้จากเนื้อสัตว์ติดมัน ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง เป็นต้น
ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเพื่อลดอัตราการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ
จากคำแนะนำของนักโภชนาการปริมาณโปรตีนที่ผู้ใหญ่ควรได้รับต่อวันคือ 0.36 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 ปอนด์ (0.8 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม) โดยเฉลี่ยปริมาณโปรตีนที่ผู้ชายต้องการต่อวันคือ 56 กรัม ส่วนผู้หญิงคือ 46 กรัม นอกจากนี้ปริมาณโปรตีนควรปรับเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตามอายุทุกๆ 1 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่ร่างกายขาดสารอาหารจากการเจ็บป่วยหรืออยู่ในช่วงระหว่างการพักฟื้นจากการผ่าตัด
นั่งยองคุกเข่า เมือผู้สูงอายุนั้งยองหรือคุกเข่านานเกินไป อาจทำให้ผู้สูงอายุปวดเข่าและข้อเข่าเสื่อมได้ควรนั่งบนเก้าอี้ที่มั่นคงและให้ผู้สูงอายุอยู่ในอิริยาบทหลังตรงเสมอ
เอี้ยวตัวหยิบของ เมื่อผู้สูงอายุเอี้ยวตัวหยิบของ อาจทำให้กล้ามเนื้อและหลังที่ไม่ได้ตั้งตัวบิดเบี้ยวอย่างรุนแรงอาจทำให้บาดเจ็บที่ข้อไหล่และปวดต้นคอและหลังได้ดังนั้นผู้สูงอายุควรนั่งและยืนในท่าตรงเสมอเพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อหลังได้รับการบาดเจ็บ
ยืนโดยไม่มีที่เกาะ เมือผู้สูงอายุยืนโดยไม่มีที่เกาะอาจทำให้ต้องเกร็งขาจนเกิดอาการปวดขา และ ปวดเข่าได้ดังนั้นในบรเวณบ้านหรือห้องน้ำของผู้สูงอายุควรมีราวาจับช่วยพยุงตัวเวลาเปลี่ยนอิริยบทช่วยลดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บได้
ใส่สันสูง เมือผู้สูงอายุใส่รองเท้าสันสูงทำให้กล้ามเนื้อและน่องทำงานหนักและกล้ามเนื้อหลังไม่ได้รับการพักผ่อนจนอาจทำให้ผู้สูงอายุเกิดอาการปวดเรื้อรังได้ ดังนั้นควรให้ผู้สูงอายถใส่รองเท้าพื้นเรียบและมีความหนาของสันรองเท้าเพื่อรองรับแรงกระแทกจากการเดินได้เพื่อช่วยลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
ลุกเร็ว เมือผู้สูงอายุลุกจากเตียงในท่านอนหรือจากเก้าอี้ในท่านั้งผู้สูงอายุไม่ควรอย่างยิ่งที่จะทำด้วยความรวดเร็วเพราะอาจจะทำให้ความดันโลหิตเปลี่ยนด้วยความเร็วทำให้ผู้สูงอายุเกิดอาการเวียนศรีษะถึงขั้นคลื่นไส้อาเจียนได้ ดังนั้นผู้สูงอายุจึงควรค่อยๆทำและเคลื่อนไหวด้วยความระมัดระวัง
แช่น้ำร้อน ผู้สูงอายุสามารถแช่น้ำร้อนได้แต่ต้องระวังเป็นอย่างยิ่งเพราะอาจทำให้เส้นเลือดขยายตัวเพื่อเป็นการลดคลายความร้อนและความดันโลหิตตกอาจเกิดจากการหน้ามึดเป็นลมได้ ดังนั้นผู้สูงอายุควรลงแช่น้ำร้อนแบบช้าค่อยๆลงและเป็นเวลาสั้นๆไม่ควรเกินกว่า 10 นาที
การกิน ผู้สูงอายุและวัยเกษีณควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลือกกินข้าวกล้องและผลไม้เป็นประจำผู้สูงอายุและวัยเกษียณควรเลี่ยงการกินอาหารที่มีรสหวานจัด เค็มจัดและกินอาหารที่สะอาดรมถึงดื่มนมเป็นประจำวันละ 1 แก้ว เพื่อให้ร่างกายผู้สูงอายุและวัยเกษียณได้รับแคลเซียมและวิตามินต่างๆที่เพียงพอ
ออกกำลังกาย ผู้สูงอายุและวัยเกษียณควรมีการออกกำลังหรือมีกิจกรรมทางร่างกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที มากกว่า 5 ครั้งต่อสัปดาห์
การออม ผู้สูงอายุและวัยเกษียณควรมีออมทรัพย์สำรองไว้ใช้จ่ายหลังเกษียณอายุเพื่อลดภาวะเคลียดจากการใช้จ่ายที่ไม่เพียงพอหรือค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิด
หาความรู้เพิ่มเติม ผู้สูงอายุและวัยเกษียณควรศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอรู้เท่าทันเลือกที่จะเชื่อในแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้เพื่อให้รู้จริงให้คำแนะนำต่อลูกหลานให้เกิดประโยชน์
สภาพแวดล้อม ผู้สูงอายุและวัยเกษียณควรจัดสภาพแวดล้อมในบ้านให้สะอาดปลอดภัยป้องกัน การหกล้มหรือเกิดอุบัติเหตุเช่นมีราวจับหรือราวพยุงในห้องน้ำและตามทางเดิมพื้นไม่ลื้นมีแสงสว่างเพียงพอ
สร้างสุขอนามัยที่ดี ผู้สูงอายุและวัยเกษียณควรป้องกันโรคโควิด 19 ด้วยการสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อคต้องออกจากบ้านล้างมือบ่อยๆด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์เป็นประจำผู้สูงอายุและวัยเกษียณควรหลีกเลี่ยงการใช้ขนส่งสาธารณะและการไปในที่แออัดและเว้นระยะหว่างอยู่เสมอ
Input your search keywords and press Enter.